|
|
โดยปกติคนเราจะรู้สึกชื่นใจ เมื่อได้รับประทานของหวานๆ หรือแม้แต่เวลาที่ร่างกายอ่อนล้าของหวานก็สามารถทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้นมาได้ อย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นประมาณ 1-2 ชั่วโมงจะเริ่มรู้สึกห่อเหี่ยวอีกครั้ง และรู้สึกอยากรับประทานหวานๆอีก นั่นเป็นเพราะในร่างกายมีระบบในการจัดการกับน้ำตาล ซึ่งหากมีน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปตับอ่อนก็จะหลั่ง “อินซูลิน” ออกมาเพื่อนำน้ำตาลเหล่านั้นเข้าสู่เซลล์ ยิ่งน้ำตาลในกระแสเลือดมากเท่าไร อินซูลินก็จะยิ่งหลั่งออกมามากเท่านั้นจากกราฟจะพบว่า มีการกวัดแกว่งถึง 3 ช่วง ซึ่งเป็นช่วงที่เรารับประทานอาหารเข้าไปในช่วงเช้า กลางวัน และเย็น (หากมีมื้อดึกเพิ่มด้วยก็จะทำให้เกิดการกวัดแกว่งเพิ่มขึ้นอีกช่วงหนึ่ง ดังนั้น จึงยิ่งไม่ควรรับประทานหวานมื้อดึก) การกวัดแกว่งของกราฟจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่เรา รับประทานว่าสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้เร็วเพียงใด ดังนั้นยิ่งเรารับประทานน้ำตาลมากตับอ่อนก็จะทำงานหนักขึ้นเพราะตับอ่อนไม่ เพียงจะต้องหลั่งอินซูลิน แต่ยังต้องหลั่งฮอร์โมน “กลูคากอน” ออกมาในช่วงที่น้ำตาลในกระแสเลือดต่ำลงมากเกินไปอีกด้วย เพื่อเปลี่ยนไกลโคเจนจากตับให้กลับมาเป็นน้ำตาลเพื่อรักษาสมดุลของน้ำตาลใน กระแสเลือดให้เป็นปรกติมะเขือพวง จะมีสารกลุ่มเส้นใยที่ละลายน้ำได้ ซึ่งจะกลายสภาพเป็นวุ้นไปเคลือบที่บริเวณผนังลำไส้ ทำให้ช่วยชะลอการดูดซึมของแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วอีกที( การเลือกรับประทานอาหารกลุ่มที่ไม่ขัดสี สามารถช่วยชะลอสภาวะการกวัดแกว่งของน้ำตาลในกระแสเลือดได้อีกแรงหนึ่ง )